สสวท. เผยผลประเมินความรู้ด้านไอซีที เด็กไทยเทียบนานาชาติ พบอยู่รองบ๊วยจากผู้เข้าร่วม 14 ประเทศ แนะปรับปรุงหลักสูตรกลาง ฝึกเด็กใช้ทักษะแก้ปัญหา อบรมครูทุกวิชาใช้ไอซีทีในการสอน

วันนี้ (21 พ.ย.) สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดแถลงข่าวผลการวิจัยโครงการประเมินการเรียนรู้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ของนักเรียนไทยเทียบกับนานาชาติ โดยมี รศ.ดร.พินิติ รตะนานุ เลขาธิการสภาการศึกษา ดร.สุพัตรา ผาติวิสันต์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สสวท. และดร.ชัยวุฒิ เลิศวนสิริวรรณ ผู้ช่วยนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ สสวท. ร่วมแถลงข่าว

ดร.ชัยวุฒิ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวจัดขึ้นโดยสมาคมนานาชาติที่ทำหน้าที่ประเมินผลด้านการศึกษา หรือ ไออีเอ เพื่อประเมินผลเกี่ยวกับการรู้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยสอบถามผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน และผู้รับผิดชอบด้านไอซีทีของโรงเรียนในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ซึ่งมีประเทศที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 20 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย อาร์เจนตินา แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ ชิลี โครเอเชีย สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก ฮ่องกง เยอรมนี เกาหลีใต้ ลิธัวเนีย เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปแลนด์ สาธารณรัฐสโลวัก สโลวีเนีย รัสเซีย ตุรกี และ ไทย โดยมีนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่เข้าร่วมประเมินทั้งสิ้น 59,430 คน ในส่วนของประเทศไทยได้ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้น ม.2 ในสถานศึกษาทุกสังกัด 3,646 คน จาก 198 โรงเรียน อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้ประเทศอาร์เจนตินา และ แคนาดา ขอเข้าร่วมสังเกตการณ์ก่อน ส่วนอีก 4 ประเทศ ได้แก่ เดนมาร์ก ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์ ข้อมูลไม่ครบตามที่โครงการกำหนด จึงถูกตัดสิทธิ์ ส่งผลให้เหลือประเทศที่เข้ารับการประเมินทั้งหมด 14 ประเทศ

ดร.ชัยวุฒิ กล่าวต่อไปว่า ทางโครงการได้กำหนดให้ค่าคะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบ เท่ากับ 500 คะแนน ซึ่งผลประเมินพบว่า ประเทศที่ได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ตั้งไว้ อันดับ 1 คือ สาธารณรัฐเช็ก ได้ 553 คะแนน รองลงมาคือ ออสเตรเลีย ได้ 542 คะแนน โปแลนด์ และ นอร์เวย์ ได้ 537 คะแนน เกาหลีใต้ ได้ 536 คะแนน เยอรมนี ได้ 523 คะแนน สาธารณรัฐสโลวัก ได้ 517 คะแนน รัสเซีย ได้ 516 คะแนน โครเอเชีย ได้ 512 คะแนน และ สโลวีเนีย ได้ 511 คะแนน ส่วนประเทศที่ได้คะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ตั้งไว้ คือ ลิธัวเนีย ได้ 494 คะแนน ชิลี ได้ 487 คะแนน ส่วนประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 13 ได้ 373 คะแนน ซึ่งเป็นอันดับสองนับจากท้าย ที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ ตุรกี ได้ 361 คะแนน สำหรับประเทศไทยเมื่อจำแนกผลการประเมินตามสังกัด พบว่า นักเรียนในโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้คะแนนเฉลี่ย 518 คะแนน ถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติที่ตั้งไว้ และสูงกว่าโรงเรียนในสังกัดอื่นๆ รองลงมา คือโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ได้ 395 คะแนน โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่เปิดสอนเฉพาะ ม.1 – 6 ได้ 382 คะแนน โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้ 377 คะแนน โรงเรียนสังกัดเทศบาล/ท้องถิ่น ได้ 346 คะแนน และโรงเรียนขยายโอกาสสังกัด สพฐ. ได้ 330 คะแนน

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาผลการประเมินในแต่ละด้าน พบว่า คะแนนด้านการรู้คอมพิวเตอร์ และสารสนเทศของนักเรียนมีความสำคัญอย่างมาก กับค่าดรรชนีการพัฒนา ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของแต่ละประเทศ โดยประเทศที่มีค่าดรรชนีการพัฒนาด้านไอซีทีสูง ก็มีแนวโน้มที่ผลคะแนนจะสูง สำหรับประเทศไทยมีค่าดัชนีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีฯ ต่ำที่สุด นอกจากนี้ ยังพบว่า พื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์กับคะแนนด้านการรู้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศของนักเรียน ซึ่งถ้าผู้ปกครองมีพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจที่สูง ก็มีแนวโน้มที่นักเรียนจะมีคะแนนสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งประเทศไทยนั้นนักเรียน 61% ผู้ปกครองมีพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำ จึงส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยต่ำลงไปด้วย ขณะเดียวกันยังพบว่าครอบครัวที่มีคอมพิวเตอร์ที่บ้าน จะทำให้นักเรียนมีคะแนนสูงขึ้น ซึ่งในส่วนของประเทศไทยยังมีครอบครัวที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ที่บ้านอยู่ถึง 28% ปัจจัยต่อมา คือ สัดส่วนนักเรียนต่อคอมพิวเตอร์ที่โรงเรียน พบว่า ยิ่งสัดส่วนนักเรียนต่อคอมพิวเตอร์น้อย คะแนนเฉลี่ยจะยิ่งสูง ประสบการณ์การใช้คอมพิวเตอร์ของครู มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งในส่วนของประเทศไทยพบว่ามีครูที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์ อยู่ 8% ขณะที่ประเทศอื่นๆ ที่ร่วมประเมินอยู่ที่ 5%

“จากการประเมินครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรต้องมีการปรับปรุง สาระการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลาง ที่แสดงให้เห็นกระบวนการและทักษะที่จะเกิดกับผู้เรียนโดยเฉพาะทักษะที่ทำให้เกิดการคิดวิเคราะห์ รวมทั้งควรปรับวิธีการวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกันเพราะปัจจุบันครูเน้นสอน และวัดผลแต่โปรแกรมสำนักงาน ไม่ฝึกให้เด็กรู้จักใช้ทักษะและกระบวนการแก้ปัญหา นอกจากนี้ต้องปรับโครงสร้างหลักสูตรวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร มาอยู่ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จากเดิมที่อยู่ในกลุ่มสาระการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี ในปัจจุบัน ควรจัดอบรมครูในทุกวิชาให้สามารถใช้ไอซีทีในการเรียนการสอนได้ เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าถึงไอซีทีเพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาทั้งในโรงเรียนและที่บ้าน” ดร.ชัยวุฒิ  กล่าว

รศ.ดร.พินิติ กล่าวว่า หลังจากนี้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะนำผลการประเมินครั้งนี้มาเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลที่นำไปใช้ในการปฏิรูปการศึกษาภาพรวมของประเทศ โดยต้องนำผลประเมินมาวิเคราะห์และปรับตามข้อเสนอแนะ ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ครู นักเรียน และหลักสูตร

ขอขอบคุณข่าวสาร/ข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการ
Posted under การพัฒนาการศึกษา

กสม. ออกแถลงการณ์ค้าน ศธ. ยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ชี้ ละเมิดสิทธิการศึกษาเด็กนักเรียนตาม รธน.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 20 พ.ย. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ออกแถลงการณ์เรื่องสิทธิเด็กอันเกี่ยวเนื่องกับความเสมอภาคทางการศึกษา กรณีคัดค้านนโยบายยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก เนื่องจากมีผู้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิฯ เกี่ยวกับคัดค้านนโยบายยุบ ควบรวม โรงเรียนขนาดเล็กของกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากเห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการศึกษาของเด็กนักเรียน ซึ่งคณะกรรมการสิทธิฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบโดยรับฟังคำชี้แจงจากหน่วยงาน นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ การลงพื้นที่ และจัดเสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นแล้ว

คณะกรรมาการสิทธิฯ มีความเห็นและมีมติ เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2557 ที่ผ่านมา ว่า นโยบายยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นนโยบายที่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการศึกษาของเด็กนักเรียน เนื่องจากตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อ 3 และข้อ 28 และหลักการตามรัฐธรรมนูญให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นอันดับแรก เด็กต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย สมอง จิตใจ ศีลธรรม และจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ซึ่งการจัดการศึกษาเพื่อให้เด็กได้พัฒนาในมิติที่รอบด้าน เป็นเรื่องของรัฐที่จะต้องดำเนินการและลงทุน

คณะกรรมการสิทธิฯ จึงได้กำหนดมาตรการการแก้ไขปัญหาต่อกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้ปรับลดงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ไม่จำเป็น และไม่คุ้มค่ากับการลงทุน กระจายอำนาจการจัดการศึกษาไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทยต้องจัดงบประมาณ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่จัดการศึกษาร่วมกับชุมชน กระทรวงศึกษาธิการ ควรปรับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการศึกษาโดยเน้นเป้าหมายในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา หลักสูตร วิธีการสอน รวมทั้งระดมบุคลากรที่มีศักยภาพ เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อให้เข้ามาสนับสนุนการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็กให้มีคุณภาพและสอดคล้องกับวิถีชุมชนในแต่ละพื้นที่

นอกจากนี้ เห็นว่า การจัดการศึกษาต้องตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของบิดามารดา ผู้ปกครอง ชุมชนและภาคประชาสังคม ภายใต้แนวคิดรูปแบบและกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายผ่านความสัมพันธ์กับครอบครัว ชุมชน สังคม วัฒนธรรมในท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาในมิติที่รอบด้านและนำไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ อีกทั้ง กระทรวงศึกษาธิการควรพิจารณายกเลิกหรือปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย การจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550 ในส่วนที่เกี่ยวกับการรวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และพิจารณาทบทวนแก้ไขมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 เพื่อให้สอดคล้องกับสิทธิในการได้รับการศึกษาของเด็ก ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการสิทธิฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย จะดำเนินการตามข้อเสนอและมาตรการดังกล่าว

ขอขอบคุณข่าวสาร/ข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการ
Posted under การพัฒนาการศึกษา

สสวท. เผยผลประเมินความรู้ด้านไอซีที เด็กไทยเทียบนานาชาติ พบอยู่รองบ๊วยจากผู้เข้าร่วม 14 ประเทศ แนะปรับปรุงหลักสูตรกลาง ฝึกเด็กใช้ทักษะแก้ปัญหา อบรมครูทุกวิชาใช้ไอซีทีในการสอน

วันนี้ (21 พ.ย.) สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดแถลงข่าวผลการวิจัยโครงการประเมินการเรียนรู้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ของนักเรียนไทยเทียบกับนานาชาติ โดยมี รศ.ดร.พินิติ รตะนานุ เลขาธิการสภาการศึกษา ดร.สุพัตรา ผาติวิสันต์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สสวท. และดร.ชัยวุฒิ เลิศวนสิริวรรณ ผู้ช่วยนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ สสวท. ร่วมแถลงข่าว

ดร.ชัยวุฒิ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวจัดขึ้นโดยสมาคมนานาชาติที่ทำหน้าที่ประเมินผลด้านการศึกษา หรือ ไออีเอ เพื่อประเมินผลเกี่ยวกับการรู้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยสอบถามผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน และผู้รับผิดชอบด้านไอซีทีของโรงเรียนในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ซึ่งมีประเทศที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 20 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย อาร์เจนตินา แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ ชิลี โครเอเชีย สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก ฮ่องกง เยอรมนี เกาหลีใต้ ลิธัวเนีย เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปแลนด์ สาธารณรัฐสโลวัก สโลวีเนีย รัสเซีย ตุรกี และ ไทย โดยมีนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่เข้าร่วมประเมินทั้งสิ้น 59,430 คน ในส่วนของประเทศไทยได้ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้น ม.2 ในสถานศึกษาทุกสังกัด 3,646 คน จาก 198 โรงเรียน อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้ประเทศอาร์เจนตินา และ แคนาดา ขอเข้าร่วมสังเกตการณ์ก่อน ส่วนอีก 4 ประเทศ ได้แก่ เดนมาร์ก ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์ ข้อมูลไม่ครบตามที่โครงการกำหนด จึงถูกตัดสิทธิ์ ส่งผลให้เหลือประเทศที่เข้ารับการประเมินทั้งหมด 14 ประเทศ

ดร.ชัยวุฒิ กล่าวต่อไปว่า ทางโครงการได้กำหนดให้ค่าคะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบ เท่ากับ 500 คะแนน ซึ่งผลประเมินพบว่า ประเทศที่ได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ตั้งไว้ อันดับ 1 คือ สาธารณรัฐเช็ก ได้ 553 คะแนน รองลงมาคือ ออสเตรเลีย ได้ 542 คะแนน โปแลนด์ และ นอร์เวย์ ได้ 537 คะแนน เกาหลีใต้ ได้ 536 คะแนน เยอรมนี ได้ 523 คะแนน สาธารณรัฐสโลวัก ได้ 517 คะแนน รัสเซีย ได้ 516 คะแนน โครเอเชีย ได้ 512 คะแนน และ สโลวีเนีย ได้ 511 คะแนน ส่วนประเทศที่ได้คะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ตั้งไว้ คือ ลิธัวเนีย ได้ 494 คะแนน ชิลี ได้ 487 คะแนน ส่วนประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 13 ได้ 373 คะแนน ซึ่งเป็นอันดับสองนับจากท้าย ที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ ตุรกี ได้ 361 คะแนน สำหรับประเทศไทยเมื่อจำแนกผลการประเมินตามสังกัด พบว่า นักเรียนในโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้คะแนนเฉลี่ย 518 คะแนน ถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติที่ตั้งไว้ และสูงกว่าโรงเรียนในสังกัดอื่นๆ รองลงมา คือโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ได้ 395 คะแนน โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่เปิดสอนเฉพาะ ม.1 – 6 ได้ 382 คะแนน โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้ 377 คะแนน โรงเรียนสังกัดเทศบาล/ท้องถิ่น ได้ 346 คะแนน และโรงเรียนขยายโอกาสสังกัด สพฐ. ได้ 330 คะแนน

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาผลการประเมินในแต่ละด้าน พบว่า คะแนนด้านการรู้คอมพิวเตอร์ และสารสนเทศของนักเรียนมีความสำคัญอย่างมาก กับค่าดรรชนีการพัฒนา ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของแต่ละประเทศ โดยประเทศที่มีค่าดรรชนีการพัฒนาด้านไอซีทีสูง ก็มีแนวโน้มที่ผลคะแนนจะสูง สำหรับประเทศไทยมีค่าดัชนีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีฯ ต่ำที่สุด นอกจากนี้ ยังพบว่า พื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์กับคะแนนด้านการรู้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศของนักเรียน ซึ่งถ้าผู้ปกครองมีพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจที่สูง ก็มีแนวโน้มที่นักเรียนจะมีคะแนนสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งประเทศไทยนั้นนักเรียน 61% ผู้ปกครองมีพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำ จึงส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยต่ำลงไปด้วย ขณะเดียวกันยังพบว่าครอบครัวที่มีคอมพิวเตอร์ที่บ้าน จะทำให้นักเรียนมีคะแนนสูงขึ้น ซึ่งในส่วนของประเทศไทยยังมีครอบครัวที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ที่บ้านอยู่ถึง 28% ปัจจัยต่อมา คือ สัดส่วนนักเรียนต่อคอมพิวเตอร์ที่โรงเรียน พบว่า ยิ่งสัดส่วนนักเรียนต่อคอมพิวเตอร์น้อย คะแนนเฉลี่ยจะยิ่งสูง ประสบการณ์การใช้คอมพิวเตอร์ของครู มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งในส่วนของประเทศไทยพบว่ามีครูที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์ อยู่ 8% ขณะที่ประเทศอื่นๆ ที่ร่วมประเมินอยู่ที่ 5%

“จากการประเมินครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรต้องมีการปรับปรุง สาระการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลาง ที่แสดงให้เห็นกระบวนการและทักษะที่จะเกิดกับผู้เรียนโดยเฉพาะทักษะที่ทำให้เกิดการคิดวิเคราะห์ รวมทั้งควรปรับวิธีการวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกันเพราะปัจจุบันครูเน้นสอน และวัดผลแต่โปรแกรมสำนักงาน ไม่ฝึกให้เด็กรู้จักใช้ทักษะและกระบวนการแก้ปัญหา นอกจากนี้ต้องปรับโครงสร้างหลักสูตรวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร มาอยู่ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จากเดิมที่อยู่ในกลุ่มสาระการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี ในปัจจุบัน ควรจัดอบรมครูในทุกวิชาให้สามารถใช้ไอซีทีในการเรียนการสอนได้ เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าถึงไอซีทีเพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาทั้งในโรงเรียนและที่บ้าน” ดร.ชัยวุฒิ  กล่าว

รศ.ดร.พินิติ กล่าวว่า หลังจากนี้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะนำผลการประเมินครั้งนี้มาเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลที่นำไปใช้ในการปฏิรูปการศึกษาภาพรวมของประเทศ โดยต้องนำผลประเมินมาวิเคราะห์และปรับตามข้อเสนอแนะ ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ครู นักเรียน และหลักสูตร

ขอขอบคุณข่าวสาร/ข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการ
Posted under การพัฒนาการศึกษา

9 นโยบายของ คสช.ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ

ศึกษาธิการ – ดร.สุทธศรี วงษ์สมาน ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก ครั้งที่ 18/2557 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2557 โดยมีประเด็นสำคัญสรุปดังนี้

  • การรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของกระทรวงศึกษาธิการ ที่สอดคล้องกับนโยบายของ คสช.

ที่ประชุมรับทราบ กรอบในการรายงานผลการปฏิบัติงานและการขับเคลื่อนนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งแผนงาน/โครงการเร่งด่วนใน 4 เดือนที่เหลือ (มิถุนายน-กันยายน 2557) จำนวนทั้งสิ้น 7 โครงการ และแนวทางที่จะดำเนินงานตามนโยบาย คสช. ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ

7 แผนงาน/โครงการเร่งด่วน  คือ 1) โครงการสร้างความเข้าใจความรักสามัคคี ปรองดอง สมานฉันท์ ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ภูมิใจในความเป็นไทย 2) แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์และหน้าที่พลเมือง 3) ปรับการเรียนการสอนภาษาไทยและภาษาต่างประเทศให้สามารถสื่อสารได้ 4) การเยียวยาและช่วยเหลือนักเรียน ครู ผู้บริหารในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 5) กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) 6) โครงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แท็บเล็ต 7) สรุปการเสนอขอรับการสนับสนุนงบกลาง เพื่อช่วยเหลือสถานศึกษาที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว

9 นโยบายของ คสช.ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการ

1) สร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการสร้างความปรองดอง สมานฉันท์ ความสามัคคี
2) เพิ่มและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ประชาชนอย่างเท่าเทียม
3) เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ โดยเน้นผลิตและพัฒนากำลังคนระดับกลางและระดับสูงที่มีคุณภาพ และส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อการพัฒนาประเทศ
4) ยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยปฏิรูปหลักสูตร การเรียนการสอน เน้นกระบวนการคิดเชิงระบบ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ความมีวินัย จิตสำนึกความเป็นไทย ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และยึดมั่นในสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ และพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
5) ปฏิรูปครู โดยเน้นการผลิตและพัฒนาครูคุณภาพ และให้คนเก่งคนดีมาเป็นครู
6) ปฏิรูประบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนของสังคม และการกระจายอำนาจ
7) พัฒนาการจัดการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้
8) เตรียมความพร้อมเพื่อการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
9) พัฒนาระบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาให้ทันสมัย

ทั้งนี้ ที่ประชุมขอให้สำนักงานรัฐมนตรี (สร.) ประสานงานและรวบรวมความคืบหน้าแผนงาน/โครงการ ของแต่ละหน่วยงาน ให้กับคณะทำงานติดตามและรายงานการดำเนินงานตามนโยบาย คสช. ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งมีนายวรัท พฤกษากุลนันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานศึกษาธิการภาค 13  เป็นประธานคณะทำงาน เพื่อรายงานให้ฝ่ายสังคมจิตวิทยาทราบ ทุกวันพุธในแต่ละสัปดาห์ และรายงานให้ที่ประชุมองค์กรหลักรับทราบในการประชุมครั้งต่อไปด้วย

  • การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2558 ของกระทรวงศึกษาธิการ

ที่ประชุมรับทราบยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งดำเนินการตาม 8 ยุทธศาสตร์ 1 รายการ คือ

1) ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูความเชื่อมั่นและการเร่งรัดวางรากฐานที่ดีของประเทศ
2) ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งรัฐ
3) ยุทธศาสตร์การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม
4) ยุทธศาสตร์การศึกษา สาธารณสุข คุณธรรม จริยธรรม และคุณภาพชีวิต
5) ยุทธศาสตร์การจัดสรรทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
6) ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรม
7) ยุทธศาสตร์การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
8) ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
9) รายการค่าดำเนินการภาครัฐ

ที่ประชุมขอให้แต่ละหน่วยงาน ศธ. ได้จัดทำแผนงาน/โครงการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณดังกล่าว ซึ่งจะเป็นการบูรณาการจัดทำงบประมาณในแต่ละโครงการ โดยขอให้รวบรวมเสนอคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2558 ไปยังสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการภายในวันพุธที่ 18 มิถุนายนนี้ เพื่อรวบรวมเสนอขอไปยังฝ่ายสังคมจิตวิทยาพิจารณา ตามปฏิทินงบประมาณในวันที่ 20 มิถุนายน 2557 ต่อไป

  • การจัดทำ Roadmap การปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืน

ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้า (ร่าง) Roadmap การปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคนอย่างยั่งยืน ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาให้คนไทยเป็นคนดี มีความรู้ ความสามารถ สมานฉันท์ มีศักยภาพในการแข่งขัน ซึ่งเน้น 6 เรื่องที่สำคัญ คือ ปฏิรูปครู เพิ่มและกระจายโอกาสอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ปฏิรูปการบริหารจัดการ การผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ปฏิรูปการเรียนรู้ และวางระบบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

ทั้งนี้ จะเน้นการขับเคลื่อนทั้งระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว โดยจะมีกลไกในการขับเคลื่อน เช่น ให้มีคณะกรรมการระดับชาติจัดทำข้อเสนอแนวทางการปฏิรูปการศึกษา การปรับปรุงกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง การจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ เป็นต้น

  • แนวทางเสริมสร้างการปรองดองสมานฉันท์ ของกระทรวงศึกษาธิการ

ที่ประชุมขอให้แต่ละหน่วยงานรายงานโครงการ/กิจกรรมต่างๆ เพื่อเสริมสร้างการปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ตามแนวทางของศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูป (ศปป.) ที่ต้องการดำเนินการ หรือที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ทุกๆ สัปดาห์ โดยโครงการที่ ศธ.จะเน้นดำเนินการใน 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ 1) กลุ่มนักเรียนนักศึกษา 2) กลุ่มครู/ผู้บริหาร/บุคลากรทางการศึกษา 3) กลุ่มผู้ปกครอง/เครือข่าย ส่วนในระดับภูมิภาคนั้น ศธ.พร้อมสนับสนุนให้หน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมที่ กอ.รมน.ภาค/จังหวัดจัดขึ้น

 

ขอขอบคุณข่าวสาร/ข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์ กระทรวงศึกษาธิการ

 

Posted under การพัฒนาการศึกษา
100_3496

การจัดการศึกษาในทศวรรษที่ 2

เหลียวหน้าแลหลัง…พลังที่ต้องการให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
              ในปีการศึกษา 2553 จะเป็นปีแห่งการมุ่งเน้นการผลักดันนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการจะให้ความสำคัญกับการตรวจราชการหรือติดตามนโยบายในทางปฏิบัติให้เกิดผลในแต่ละพื้นที่มากขึ้น และเขตพื้นที่การศึกษาจะต้องนำสิ่งเหล่านี้ไปแจ้งให้ผู้ร่วมงานและผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดได้รับทราบ และปฏิบัติตามนโยบายที่ได้สั่งการไปแล้วทุกนโยบาย เพราะถัดจากนี้ไปจะมีการติดตามความก้าวหน้าการทำงานและผลสัมฤทธิ์ทั้งหมดที่จะตามมา ใช้มาตรการทางการบริหารมากขึ้น หากเขตพื้นที่การศึกษาใดบกพร่อง ไร้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ หรือพบความไม่โปร่งใส ศธ. จะใช้มาตรการทางการบริหารมากขึ้น รมว.ศธ.กล่าวว่า การศึกษาเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาประเทศ ศธ.ดูแลการศึกษาในภาพรวมของประเทศ ขอเชิญชวนกรรมการสถานศึกษา ร่วมชูธงเพื่อปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ซึ่งมีจุดเน้น 3 เรื่องหลัก ดังนี้

      คุณภาพของผู้เรียน ในช่วง 10 ปีต่อจากนี้ ศธ.จะต้องทำให้เด็ก ป.1-3 อ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น เคารพพ่อแม่ ครูอาจารย์ มีวินัยในตนเอง ป.4-6 ต้องอ่านคล่อง เขียนคล่อง โดย ศธ.ต้องมีตัวเลขที่ชัดเจน เพื่อให้เห็นจำนวนของเด็กที่สามารถเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น และเด็กที่อ่านหนังสือไม่ออก โดยลักษณะของเด็กทั่วโลก จะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) เด็กเก่ง ซึ่ง ศธ.จะส่งเสริมความเป็นเลิศ มีโรงเรียนวิทยาศาสตร์ เป็นโรงเรียนประจำ คือ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ 2) เด็กทั่วไป ศธ.จะให้โอกาสทางการศึกษาอย่างเต็มที่ โดยมีโรงเรียนรองรับ 3 ประเภท คือ 1.โรงเรียนมาตรฐานสากล ซึ่งจะร่วมมือกับโรงเรียนนานาชาติ เพื่อจัดการศึกษาให้กับเด็กที่มีความสามารถสูง 2.โรงเรียนดีประจำอำเภอ เพื่อลดการเดินทางไปเรียนในโรงเรียนประจำจังหวัด และ 3.โรงเรียนดีประจำตำบล เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 3) เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา ด้อยโอกาส ชาวเขา ก็จะต้องมีโรงเรียนประจำ ซึ่ง ศธ.จะจัดการศึกษาเพื่อให้เด็กสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
           ความเสมอภาคและโอกาส ศธ.ได้ดำเนินการโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ ซึ่งผลการดำเนินงาน 2 ปีที่ผ่านมา เมื่อมีการสำรวจกับประชาชนทั้งประเทศ พบว่า เป็นโครงการที่ประชาชนมีความพึงพอใจมากที่สุด โดยในปีต่อไป ศธ.จะจัดหนังสือเรียนฟรีให้กับนักเรียนตั้งแต่ชั้น ป.1-ม.6 ซึ่งจะต้องพิจารณาจากงบประมาณอีกครั้งหนึ่ง สำหรับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประชาชนก็มีความพึงพอใจในลำดับรองลงมา เพราะสามารถทำให้โรงเรียนเกิดความคล่องตัวในการบริหารงบประมาณ ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มจำนวนชั่วโมงเรียนคอมพิวเตอร์ การทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ นอกจากนี้ ศธ.จะจัดระบบเชื่อมต่อการศึกษาระหว่างโรงเรียนขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และมหาวิทยาลัยด้วย โดย ศธ. จะจัดการศึกษาเพื่อให้เด็กมีที่ยืน และสามารถเลือกที่ยืนได้ด้วยตนเอง การศึกษาในรูปแบบใหม่ไม่เพียงแต่จะส่งเสริมเด็กเก่งเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องให้ความสำคัญและให้โอกาสกับเด็กทั่วไปด้วย ซึ่งโรงเรียนดีประจำอำเภอจะต้องสอนให้เด็กสามารถค้นพบและรู้ความต้องการตัวเองได้ เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น
การมีส่วนร่วม ในยุคของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง การกำหนดนโยบาย การบริหารจัดการ และการจัดการศึกษา ศธ.จะไม่ทำเพียงลำพัง แต่จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นภาคีเครือข่ายร่วมจัดการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เช่น สถาบันส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ทำหน้าที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งจะมี Book Start ให้พ่อแม่เป็นผู้อ่านให้เด็กฟัง มีหนังสือเรียนและวาดภาพสำหรับเด็กปฐมวัย มีการประกวดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เด็กระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เกิดการเรียนรู้ในภาคสังคมเพิ่มขึ้น สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศก็จะเข้ามาเป็นเครื่องมือในการจัดการศึกษาในโรงเรียนมากขึ้น ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีงบประมาณประเดิม 5 ล้านบาท โดยในปีงบประมาณ 2554 สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) จะจัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนอีก 75 ล้านบาท และในปีต่อๆ ไป ก็จะจัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนปีละ 400 ล้านบาท

         ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน (เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) กล่าวถึงการจัดการศึกษาตามนโยบายของรัฐบาล การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหม่ นโยบายปีงบประมาณ 2554 มีการจัดงบประมาณไว้เพื่อดำเนินการแล้ว แต่จะไม่มีงบประมาณที่เรียกว่า SP2


เป้าหมายการปฏิรูป ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง
– มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่
– พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่
– พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่
– พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่

ปีงบประมาณ 2554 สพฐ. ได้รับงบประมาณ 245,748 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ปี 2553 มีนโยบายที่ต้องดำเนินการ ได้แก่
– การแก้ไขปัญหาเด็กออกกลางคัน
– คุณภาพนักเรียนยังไม่น่าพอใจ
– การกระจายอำนายจากส่วนกลางไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียน ยังไม่เป็นไปตามเจตนารมย์
– คณะกรรมการโรงเรียนยังไม่เข็มแข็ง
– การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก
– การพัฒนาบุคลากรยังไม่ตรงตามความต้องการ
– การประเมินวิทยฐานะยังไม่สัมพันธ์กับคุณภาพ
– งบประมาณส่วนใหญ่จะเป็นเงินเดือน งบพัฒนามีน้อย
– ขาดแหล่งความรู้

เป้าประสงค์ 4 เป้า ได้แก่1. พัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. พัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อให้ประชากรวัยเรียน ได้รับโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี
4.ส่งเสริมให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้มีความเข็มแข็งในการบริหาร

กลยุทธ์ 5 ด้าน1. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตร
2. ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทยตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3. ขยายโอกาสทางการศึกษา
4. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ
5. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางการกระจายอำนาจ

จุดเน้น 9 ประการ1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระวิชาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4
2. นักเรียนชั้น ป.3 ทุกคน อ่านออกเขียนได้
3. เพิ่มศักยภาพนักเรียนในด้านภาษาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เป็นหนึ่งในสองของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
4. นักเรียนทุกคนมีความสำนึกในความรักชาติ
5. อัตราการออกกลางคัน เป็นศูนย์
6. สร้างทางเลือกการเรียนรู้เชิงบูรณาการให้ประชากรวัยเรียนทุกคนเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
7. สถานศึกษาทุกแห่งผ่านการรับรองมาตรฐาน
7.1 สถานศึกษาทุกแห่งผ่านการรับรองภายใน
7.2 สถานศึกษาที่เข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบของ สมศ. ได้รับการรับรองทุกแห่ง
8. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาผ่านการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในระดับดี
9. การเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซี่ยน ด้านภาษา เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และพัฒนาความรู้ด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับต่างประเทศ ให้มากขึ้น
ถึงเวลาแล้วที่ทุกท่านต้องคิดทบทวนผลงานที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร มีอะไรที่ต้องเร่งรัด ปรับปรุง และพัฒนา ตลอดทั้งวางแผนการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2553 ซึ่งจะเป็นช่วงที่ต้องเตรียมรับการประเมินคุณภาพ ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับชาติ (O-Net) ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 1 และ 2 กุมภาพันธ์ 2553 นี้แล้ว…

ที่มา : http://theerawut.blogspot.com/

Posted under การพัฒนาการศึกษา