100_3496

การจัดการศึกษาในทศวรรษที่ 2

เหลียวหน้าแลหลัง…พลังที่ต้องการให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
              ในปีการศึกษา 2553 จะเป็นปีแห่งการมุ่งเน้นการผลักดันนโยบายไปสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการจะให้ความสำคัญกับการตรวจราชการหรือติดตามนโยบายในทางปฏิบัติให้เกิดผลในแต่ละพื้นที่มากขึ้น และเขตพื้นที่การศึกษาจะต้องนำสิ่งเหล่านี้ไปแจ้งให้ผู้ร่วมงานและผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดได้รับทราบ และปฏิบัติตามนโยบายที่ได้สั่งการไปแล้วทุกนโยบาย เพราะถัดจากนี้ไปจะมีการติดตามความก้าวหน้าการทำงานและผลสัมฤทธิ์ทั้งหมดที่จะตามมา ใช้มาตรการทางการบริหารมากขึ้น หากเขตพื้นที่การศึกษาใดบกพร่อง ไร้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ หรือพบความไม่โปร่งใส ศธ. จะใช้มาตรการทางการบริหารมากขึ้น รมว.ศธ.กล่าวว่า การศึกษาเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาประเทศ ศธ.ดูแลการศึกษาในภาพรวมของประเทศ ขอเชิญชวนกรรมการสถานศึกษา ร่วมชูธงเพื่อปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ซึ่งมีจุดเน้น 3 เรื่องหลัก ดังนี้

      คุณภาพของผู้เรียน ในช่วง 10 ปีต่อจากนี้ ศธ.จะต้องทำให้เด็ก ป.1-3 อ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น เคารพพ่อแม่ ครูอาจารย์ มีวินัยในตนเอง ป.4-6 ต้องอ่านคล่อง เขียนคล่อง โดย ศธ.ต้องมีตัวเลขที่ชัดเจน เพื่อให้เห็นจำนวนของเด็กที่สามารถเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น และเด็กที่อ่านหนังสือไม่ออก โดยลักษณะของเด็กทั่วโลก จะแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) เด็กเก่ง ซึ่ง ศธ.จะส่งเสริมความเป็นเลิศ มีโรงเรียนวิทยาศาสตร์ เป็นโรงเรียนประจำ คือ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ 2) เด็กทั่วไป ศธ.จะให้โอกาสทางการศึกษาอย่างเต็มที่ โดยมีโรงเรียนรองรับ 3 ประเภท คือ 1.โรงเรียนมาตรฐานสากล ซึ่งจะร่วมมือกับโรงเรียนนานาชาติ เพื่อจัดการศึกษาให้กับเด็กที่มีความสามารถสูง 2.โรงเรียนดีประจำอำเภอ เพื่อลดการเดินทางไปเรียนในโรงเรียนประจำจังหวัด และ 3.โรงเรียนดีประจำตำบล เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 3) เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สติปัญญา ด้อยโอกาส ชาวเขา ก็จะต้องมีโรงเรียนประจำ ซึ่ง ศธ.จะจัดการศึกษาเพื่อให้เด็กสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
           ความเสมอภาคและโอกาส ศธ.ได้ดำเนินการโครงการเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ ซึ่งผลการดำเนินงาน 2 ปีที่ผ่านมา เมื่อมีการสำรวจกับประชาชนทั้งประเทศ พบว่า เป็นโครงการที่ประชาชนมีความพึงพอใจมากที่สุด โดยในปีต่อไป ศธ.จะจัดหนังสือเรียนฟรีให้กับนักเรียนตั้งแต่ชั้น ป.1-ม.6 ซึ่งจะต้องพิจารณาจากงบประมาณอีกครั้งหนึ่ง สำหรับกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ประชาชนก็มีความพึงพอใจในลำดับรองลงมา เพราะสามารถทำให้โรงเรียนเกิดความคล่องตัวในการบริหารงบประมาณ ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มจำนวนชั่วโมงเรียนคอมพิวเตอร์ การทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ นอกจากนี้ ศธ.จะจัดระบบเชื่อมต่อการศึกษาระหว่างโรงเรียนขั้นพื้นฐาน อาชีวศึกษา และมหาวิทยาลัยด้วย โดย ศธ. จะจัดการศึกษาเพื่อให้เด็กมีที่ยืน และสามารถเลือกที่ยืนได้ด้วยตนเอง การศึกษาในรูปแบบใหม่ไม่เพียงแต่จะส่งเสริมเด็กเก่งเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องให้ความสำคัญและให้โอกาสกับเด็กทั่วไปด้วย ซึ่งโรงเรียนดีประจำอำเภอจะต้องสอนให้เด็กสามารถค้นพบและรู้ความต้องการตัวเองได้ เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น
การมีส่วนร่วม ในยุคของการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง การกำหนดนโยบาย การบริหารจัดการ และการจัดการศึกษา ศธ.จะไม่ทำเพียงลำพัง แต่จะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นภาคีเครือข่ายร่วมจัดการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เช่น สถาบันส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ทำหน้าที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งจะมี Book Start ให้พ่อแม่เป็นผู้อ่านให้เด็กฟัง มีหนังสือเรียนและวาดภาพสำหรับเด็กปฐมวัย มีการประกวดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เด็กระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เกิดการเรียนรู้ในภาคสังคมเพิ่มขึ้น สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศก็จะเข้ามาเป็นเครื่องมือในการจัดการศึกษาในโรงเรียนมากขึ้น ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีงบประมาณประเดิม 5 ล้านบาท โดยในปีงบประมาณ 2554 สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) จะจัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนอีก 75 ล้านบาท และในปีต่อๆ ไป ก็จะจัดสรรงบประมาณเข้ากองทุนปีละ 400 ล้านบาท

         ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน (เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) กล่าวถึงการจัดการศึกษาตามนโยบายของรัฐบาล การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างใหม่ นโยบายปีงบประมาณ 2554 มีการจัดงบประมาณไว้เพื่อดำเนินการแล้ว แต่จะไม่มีงบประมาณที่เรียกว่า SP2


เป้าหมายการปฏิรูป ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง
– มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพคนไทยยุคใหม่
– พัฒนาคุณภาพครูยุคใหม่
– พัฒนาคุณภาพสถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ยุคใหม่
– พัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการใหม่

ปีงบประมาณ 2554 สพฐ. ได้รับงบประมาณ 245,748 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก ปี 2553 มีนโยบายที่ต้องดำเนินการ ได้แก่
– การแก้ไขปัญหาเด็กออกกลางคัน
– คุณภาพนักเรียนยังไม่น่าพอใจ
– การกระจายอำนายจากส่วนกลางไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียน ยังไม่เป็นไปตามเจตนารมย์
– คณะกรรมการโรงเรียนยังไม่เข็มแข็ง
– การบริหารจัดการโรงเรียนขนาดเล็ก
– การพัฒนาบุคลากรยังไม่ตรงตามความต้องการ
– การประเมินวิทยฐานะยังไม่สัมพันธ์กับคุณภาพ
– งบประมาณส่วนใหญ่จะเป็นเงินเดือน งบพัฒนามีน้อย
– ขาดแหล่งความรู้

เป้าประสงค์ 4 เป้า ได้แก่1. พัฒนาผู้เรียนทุกคนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2. พัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อให้ประชากรวัยเรียน ได้รับโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี
4.ส่งเสริมให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้มีความเข็มแข็งในการบริหาร

กลยุทธ์ 5 ด้าน1. พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับตามหลักสูตร
2. ปลูกฝังคุณธรรม ความสำนึกในความเป็นชาติไทยตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
3. ขยายโอกาสทางการศึกษา
4. พัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาทั้งระบบ
5. พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางการกระจายอำนาจ

จุดเน้น 9 ประการ1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 5 กลุ่มสาระวิชาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 4
2. นักเรียนชั้น ป.3 ทุกคน อ่านออกเขียนได้
3. เพิ่มศักยภาพนักเรียนในด้านภาษาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เป็นหนึ่งในสองของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
4. นักเรียนทุกคนมีความสำนึกในความรักชาติ
5. อัตราการออกกลางคัน เป็นศูนย์
6. สร้างทางเลือกการเรียนรู้เชิงบูรณาการให้ประชากรวัยเรียนทุกคนเข้าถึงโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ
7. สถานศึกษาทุกแห่งผ่านการรับรองมาตรฐาน
7.1 สถานศึกษาทุกแห่งผ่านการรับรองภายใน
7.2 สถานศึกษาที่เข้ารับการประเมินคุณภาพภายนอกรอบของ สมศ. ได้รับการรับรองทุกแห่ง
8. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาผ่านการประเมินคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในระดับดี
9. การเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซี่ยน ด้านภาษา เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และพัฒนาความรู้ด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับต่างประเทศ ให้มากขึ้น
ถึงเวลาแล้วที่ทุกท่านต้องคิดทบทวนผลงานที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร มีอะไรที่ต้องเร่งรัด ปรับปรุง และพัฒนา ตลอดทั้งวางแผนการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2553 ซึ่งจะเป็นช่วงที่ต้องเตรียมรับการประเมินคุณภาพ ประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับชาติ (O-Net) ซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ 1 และ 2 กุมภาพันธ์ 2553 นี้แล้ว…

ที่มา : http://theerawut.blogspot.com/

Posted under การพัฒนาการศึกษา
901007A81

วัดถ้ำเขารูปช้าง แหล่งท่องเทียวที่สำคัญ

วัดถ้ำเขารูปช้างวัดถ้ำเขารูปช้าง เป็นสถานที่เคารพบูชา มีอยู่ 3 ถ้ำ สวยงามมาก มีน้ำไหลลอดถ้ำ และพระพุทธรูปเป็นที่สักการะบูชาของประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติที่มาท่องเที่ยว เดือนหนึ่งประมาณ 3,000-4,000 คน และมีอาหารเจจัดไว้ให้รับประทาน สำหรับผู้ที่ประสงค์จะรับประทาน วัดถ้ำเขารูปช้างตั้งอยู่ที่บ้านหน้าถ้ำ หมู่ที่ 6 ตำบลปาดังเบซาร์

ที่มา : http://www.thaitambon.com/

Posted under แหล่งท่องเที่ยว
npc1

อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้างเป็นของคนไทยทุกคน โปรดช่วยกันรักษาไว้ให้ลูกหลานของเรา

อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง

ข้อมูลทั่วไป

อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอนาทวี และอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา มีสภาพป่าและทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ประกอบด้วยจุดเด่นที่น่าสนใจ สวยงาม เช่น น้ำตกจำนวนหลายแห่ง ทั้งยังเป็นพื้นที่ประวัติศาสตร์เป็นฐานที่มั่นของการสู้รบกับโจรจีนคอมมิวนิสต์ ที่เป็นหลักฐานให้ศึกษาถึงสถานที่และวัตถุทางประวัติศาสตร์ของการสู้รบอันยาวนาน มีเนื้อที่ประมาณ 132,500 ไร่ หรือ 212 ตารางกิโลเมตร ตามตำนานเล่าขานกันมาแต่โบราณ เขาน้ำค้างเป็นยอดเขาสูง มีอากาศหนาวเย็นตลอดปี สมัยโบราณคนที่เคยขึ้นไปบนยอดเขาจะพบว่ามีน้ำค้างเป็นเกล็ดอยู่ตามยอดหญ้า ลักษณะเป็นใยแมงมุม แม้แต่ตอนเที่ยงวันยังมีน้ำค้างประปรายอยู่บนยอดหญ้า ซึ่งเป็นสภาพที่แปลกและแตกต่างไปจากที่อื่นจึงเรียกขานกันว่า “เขาน้ำค้าง” เขาน้ำค้างเป็นเสมือนเขตหวงห้ามเป็นระยะเวลากว่า 40 ปี เริ่มตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยอยู่ในความยึดครองของผู้ก่อการร้ายโจรจีนคอมมิวนิสต์ (จ.ค.ม.) เป็นบริเวณที่มีพื้นที่ภูมิประเทศเป็นถิ่นทุรกันดาร เทือกเขาสลับซับซ้อน ทำให้เป็นฐานปฏิบัติการใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโจรจีนคอมมิวนิสต์แถบนี้ แต่ในที่สุดจากการปฏิบัติการตามแผนยุทธการใต้ร่มเย็น โดยนำนโยบายการเมืองนำการทหารกองทัพภาคที่ 4 และหน่วยทหารผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ 43 (พตท.43) ได้นำนโยบายนี้เข้าปฏิบัติการสามารถเข้ายึดค่ายปฏิบัติการของโจรจีนคอมมิวนิสต์ได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2523 ทำให้โจรจีนคอมมิวนิสต์สลายตัวไปในที่สุดในคราวประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2526 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2526 นายเถลิง ธำรงค์นาวาสวัสดิ์ ประธานคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ได้สั่งการให้กรมป่าไม้ ดำเนินการสำรวจบริเวณภูน้ำค้าง อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ซึ่งเดิมเคยเป็นฐานที่มั่นของโจรจีนคอมมิวนิสต์ เพื่อพิจารณาจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ และราษฎรตำบลบ้านโตนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ได้มีหนังสือลงวันที่ 3 สิงหาคม 2526 ขอให้กรมป่าไม้พิจารณาพื้นที่บริเวณน้ำตกพระไม้ไผ่และพื้นที่ป่าบริเวณใกล้เคียงของเทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งมีน้ำตกและธรรมชาติที่สวยงาม สภาพป่าอุดมสมบูรณ์ เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/2786 ลงวันที่ 23 กันยายน 2526 เสนอกรมป่าไม้ กรมป่าไม้มีคำสั่ง ที่ 1412/2526 ลงวันที่ 26 กันยายน 2526 ให้นายสมภพ สุขวงศ์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ไปสำรวจหาข้อมูลบริเวณเทือกเขาน้ำค้าง อำเภอนาทวี น้ำตกพระไม้ไผ่ ในบริเวณเทือกเขาสันกาลาคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา และบริเวณใกล้เคียง จากรายงานการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713/พิเศษ ลงวันที่ 14 มกราคม 2527 ปรากฏว่า บริเวณที่สำรวจในพื้นที่ป่าเขาน้ำค้าง ป่าเขาแคน ป่าควนสยา ป่าควนเขาไหม้ และป่าควนสำหรง เนื้อที่ประมาณ 220 ตารางกิโลเมตร มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่น่าสนใจสวยงาม เช่น น้ำตกจำนวนหลายแห่ง ตลอดจนมีสถานที่ประวัติศาสตร์ฐานที่มั่นของโจรจีนคอมมิวนิสต์เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติได้กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือด่วนมากที่ กษ 0713/717 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2527 เสนอกรมป่าไม้ ซึ่งได้มีคำสั่งที่ 309/2527 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2527 ให้ นายสมภพ สุขวงศ์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ไปดำเนินการจัดตั้งและปรับปรุงป่าเขาน้ำค้าง ท้องที่อำเภอนาทวีและอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เป็นอุทยานแห่งชาติ จากผลการดำเนินงานตั้งแต่ต้นมาจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากในพื้นที่ดังกล่าวเคยเป็นพื้นที่มีอิทธิพลมาก่อน แม้ว่าทางราชการจะปราบปรามขั้นเด็ดขาดแล้ว โจรจีนคอมมิวนิสต์บางส่วนที่ยังเหลืออยู่พยายามกลับมาสร้างอิทธิพลและได้วางกับระเบิดชนิดต่างๆ ไว้ทั่วพื้นที่ ซึ่งอุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้างได้ประสานงานกับฝ่ายทหาร ดำเนินการขจัดปัญหาและอันตรายให้เสร็จสิ้น อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้างถูกประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดิน ป่าเขาแดน ป่าเขาน้ำค้าง ป่าควนสิเหรง ป่าควนสยา และป่าควนเขาไหม้ ในท้องที่ตำบลคลองทราย ตำบลเขากวาง ตำบลทับช้าง ตำบลประกอบ อำเภอนาทวี และตำบลปริก ตำบลสำนักแต้ว อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 108 ตอน 127 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2534 เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งที่ 65 ของประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศ
ประกอบด้วยเทือกเขาสลับซับซ้อนเป็นแนวยาวไปตลอดจนถึงพรมแดนประเทศมาเลเซีย ประกอบด้วยยอดเขาที่สำคัญ คือ ควนสยา ควนเขาไหม้ โดยมียอดเขาน้ำค้าง เป็นยอดเขาที่สูง สูงประมาณ 648 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสาย เช่น คลองนาทวี คลองปริก คลองทับช้าง คลองทรายขาว เป็นต้น ดินจะมีลักษณะเป็นดินร่วน ดินเหนียว หรือดินเหนียวปนทราย ส่วนลักษณะหินเป็นพวกหินปูน และหินแกรนิตเป็นส่วนใหญ่ ลักษณะภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จึงทำให้ฝนตกชุก มีฤดูฝนยาวนานระหว่างเดือนพฤษภาคม – เดือนมกราคม และฤดูร้อนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เดือนเมษายน

 พืชพรรณและสัตว์ป่า

พื้นที่ป่าส่วนใหญ่จะเป็นป่าดงดิบชื้น มีต้นไม้ขึ้นอยู่หนาแน่นอุดมสมบูรณ์ ไม้มีค่าทางเศรษฐกิจได้แก่ หลุมพอ ตะเคียน พยอม กระบากดำ ยาง จำปา สยาแดง ไข่เขียว เปรียงขานาง แต้ว มังคะ พิกุลป่า มะม่วงป่า เป็นต้น และมีพืชพื้นล่างได้แก่ หมากชนิดต่างๆ หวาย ไผ่ ระกำ กล้วยไม้ เฟิน มอส เป็นต้น

สัตว์ป่าที่สำรวจพบ ได้แก่ หมูป่า หมี เก้ง เลียงผา ลิงหางสั้น ชะนี สมเสร็จ เสือดำ กระจง อีเห็น เต่า ตะกวด และนกนานาชนิด เช่น นกเงือก นกหว้า ไก่ฟ้า นกกระทาดง นกยูง นกขุนทอง นกกางเขน เป็นต้น

 

ที่มา : http://www.dnp.go.th/

Posted under แหล่งท่องเที่ยว