การปลูกไผ่หวาน “พันธ์ลืมแล้ง” ที่โรงเรียนบ้านควนเจดีย์

ข้อมูลทั่วไปของไผ่หวานลืมแล้ง

ไผ่หวานลืมแล้งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า  DENDROCALAMUS ASPER BACKER   อยู่ในวงศ์ GRAMINEA  ลำต้นสูงได้กว่า 15 เมตร. ลำต้นเป็นข้อหรือปล้อง ระหว่างข้อหรือปล้องยาวประมาณ 30-50ซม. ลักษณะของข้อนูนเห็นได้ชัดเจน สีของลำไผ่หวานลืมแล้งเขียวเข้มเป็นมันไม่มีขน เนื้อในลำต้นจะตันหรือเกือบตัน อาจมีรูเล็กๆไม่กลวงเหมือนลำไผ่ทั่วไป น้ำหนักเฉลี่ยของหน่ออยู่ประมาณ 1.5-3.0 กิโลกรัม/หน่อ เนื้อของหน่อที่รับประทานได้มีประมาณ 75% ของหน่อ สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ทนต่อสภาวะต่างๆได้ดี ไม่เปลืองสารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช ทำให้ปลอดจากสารเคมี และ ปุ๋ยคอกเป็นปุ๋ยดีที่สุดสำหรับการปลูกไผ่หวานลืมแล้ง ใช้เวลาสั้นในการเก็บเกี่ยวผลผลิต(ประมาณ1ปี) ปลูกง่าย โตไว รายได้ดี  (คืนทุนเร็ว ความเสี่ยงน้อย)

การปลูกไผ่หวานลืมแล้ง

ฤดูที่เหมาะสม ควรปลูกช่วงต้นฤดูฝน หรือราวเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม

การเตรียมพื้นที่ปลูก

พื้นที่จะปลูกควรตัดโค่นไม้ใหญ่ออก เพราะจะไปแย่งอาหารจากไผ่ ถ้าได้พื้นที่ใกล้แหล่งน้ำจะดีมาก เพราะไผ่เป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก ไผ่ทั่วไปไม่ชอบน้ำขังแต่สำหรับไผ่หวานลืมแล้งน้ำท่วมขังก็ไม่ตาย ได้ทดลองโดยจมอยู่ในน้ำนานถึง 4เดือนก็ไม่เป็นอะไร(แต่ต้องปลูกเกิน6เดือนแล้ว)  เริ่มการเตรียมพื้นที่ปลูกโดยการไถหยาบด้วย ผาน 3 ตากแดดให้ดินแห้งเพื่อกำจัดเชื้อราและวัชพืชบางชนิด ทิ้งไว้ สัก 5-7 วัน ไถละเอียดด้วยผาน 7 อีกครั้ง เป็นอันใช้ได้ หรือหากใครไม่รีบร้อน ไถผาน3 แล้ว หว่านปอเทือง พอต้นโตออกดอกแล้ว ไถกลบด้วย ผาน 7 เพื่อปรับสภาพดินก่อน จะดีมากเลยครับ
จำนวนกิ่งพันธุ์ที่ที่ใช้ ต่อ 1ไร่

ระยะห่างระหว่างต้น    3 เมตร

ระยะห่างระหว่างแถว  4 เมตร ใช้กิ่งพันธุ์ประมาณ  120   กิ่ง

หลักการคำนวณ

400 ตารางวา  =   1 ไร่      หรือ       1,600 ตาราเมตร    = 1ไร่

เพราะฉะนั้นพื้นที่  1,600 ตรม.  จะมีพื้นที่ขนาด กว้าง*ยาว =  40เมตร*40 ม.
ต้องการปลูกระยะระหว่างแถว 4 เมตร (กั้นทางเดินไว้เก็บเกี่ยว)ต้องใช้ต้นไผ่
40/4=10ต้น
ต้องการปลูกระยะระหว่างต้น  3 เมตร

ต้องใช้กิ่งพันธุ์  40/3 = 12 ต้น

พื้นที่  1   ไร่   จะใช้ต้นไผ่ (10*12  ต้น)     =    120   ต้น

ที่กำหนดไว้   1ไร่ ควรปลูก ประมาณ  (100-120ต้น)เพื่อความยืดหยุ่นของแต่ละบุคคลและสถานที่ต้องเว้นพื้นที่ไว้เพื่อทำถนนและอื่นๆจำนวนที่เหมาะที่สุดอยู่ที่ไร่ละ100ต้นครับ

 

วิธีปลูกไผ่หวานลืมแล้ง

ขุดหลุมปลูก ขนาดมาตรฐาน 40x40x40 ซ.ม. (แนะนำว่าหากใครจ้างคนงานปลูกควรดูให้ดี ระวังจะหดเหลือ 15-20 ซ.ม. แทน แต่ขนาดของหลุมก็ขึ้นอยู่กับสภาพของดินถ้าเป็นร่วนปนทรายหลุมก็ไม่จำเป็นต้องใหญ่ขนาดนั้นบางพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวหลุมจะอยู่ที่25×25ซ.ม.) ระยะห่างระหว่างต้น ที่สวนโพธิ์พระยา (ตงลืมแล้ง)ผมปลูกไผ่ขนาด 3×4 เมตร. โดยขุดหลุมและนำดินขึ้นมากองไว้ใส่ปุ๋ยคอกผสมกับหน้าดินที่ขุดขึ้นมาลงไปประมาณ 0.5-1.0 กิโลกรัม    ถ้าใครไม่แน่ใจว่าดินแถวนี้มีปลวกเยอะหรือเปล่าก็แนะนำให้ใส่ยาฆ่าแมลงฟูราดานลงไปด้วย 1ช้อนชา ผสมดินกับปุ๋ยคอกให้เข้ากันรองก้นหลุมด้วยดินที่ผสมปุ๋ยคอกแล้วให้สูงจากดินก้นหลุม ประมาณ 10-15 ซม. แล้วนำต้นกล้าไผ่หวานลืมแล้งวางลงไปในหลุมให้วางกิ่งไผ่เอียงประมาณ 50-60 องศา(เพื่อหน่อต่อไปจะได้แทงขึ้นตรงและเร็ว) ฉีกถุงพลาสติกออกก่อนวางกิ่งพันธุ์ กลบดินจนพูน ตอนนี้ให้รดน้ำและอัดดินให้แน่น(สำคัญ) เมื่อดินล่างแน่นแล้วให้กลบดินทั้งหมดลงไป พูนดินบริเวณโคนกิ่งไผ่ให้เป็นเนินสูงเล็กน้อย ใช้ไม้ปักเป็นหลักตอกยึดกิ่งไผ่ไว้ให้แน่นเพื่อกันลมโยก ถ้าลมแถวนั้นแรง ถ้าลมไม่แรงมากไม่ต้องปักหลักไม้ ใช้เชือกปอแก้วบางๆมัดให้แน่น รดน้ำให้ชุ่มเมื่อดินยุบตัวแล้วจะเสมอกับพื้นที่ปลูกพอดี ถ้าจะทำอย่างละเอียด (มีเวลามาก) ควรใช้ทางมะพร้าวหรือวัสดุอื่นช่วยพรางแสงแดดจนกว่าต้นกล้าจะมีใบใหญ่ และตั้งตัวได้ แล้วจึงค่อยเอาออก แต่ถ้าปลูกหน้าฝนผมขอเสนอว่า ไม่ต้องครับ

การดูแลรักษาไผ่หวานลืมแล้ง
ควรทำการบำรุงรักษาให้เหมาะสมเพื่อให้ได้รับผลผลิตอย่างสม่ำเสมอ ดังนี้
1. การให้น้ำ
ช่วงแรก (โดยเฉพาะ 1-3 เดือน) ต้นไผ่ต้องการน้ำมาก ควรให้น้ำวันเว้นวัน แต่ถ้าปลูกไผ่ในฤดูฝน อาจไม่จำเป็นต้องให้น้ำถี่ขนาดนั้นก็ได้(เพราะฉะนั้นเราควรจะปลูกไผ่กันในฤดูฝนเพื่อลดต้นทุนต่างๆ) นอกจากในกรณีฝนทิ้งช่วงนาน จึงให้น้ำช่วย แต่หลังจากหมดฝนแล้ว ผู้ปลูกต้องคอยรดน้ำให้เสมออย่าปล่อยให้ขาดน้ำนาน เพราะในปีแรกต้นไผ่ยังไม่ค่อยแข็งแรงนักถ้าไม่มีน้ำ อาจตายได้โดยง่าย หลังจากต้นไผ่อายุเกิน 6-8 เดือน ไปแล้ว จะแข็งแรงและทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีขึ้น

  1. การใส่ปุ๋ย
    ในช่วงต้นปีแรก (1-3เดือน)ต้นไผ่สามารถใช้ปุ๋ยคอกที่คลุกเคล้าไปกับดินที่ปลูกได้พอ แต่ในระยะต่อๆ ไป จำเป็นต้องมีการพรวนดินรอบๆกอและใส่ปุ๋ยคอก 1เดือน/ครั้ง ครั้งละประมาณ2-3กกในระยะนี้อาจจะเห็นว่าหน่อที่แตกจะมีขนาดค่อนข้างเล็กและจะมีขนาดโตขึ้นทุกๆ ปี ถ้าความชุ่มชื้นและดินอุดมสมบูรณ์ดีพอเพียง แต่ถ้าจะให้ผลรวดเร็วควรจะให้ปุ๋ยเคมี 46-0-0 เร่ง ประมาณ2-3กำมือ/กอ/เดือน จะทำให้ไผ่เกิดหน่อปริมาณมากตลอดปี เดือนที่7 จะทำการตัดแต่งกอและพรวนดินเพื่อกำจัดวัชพืช ปกตินิยมพรวนดินอีกครั้งในช่วงเดือนตุลาคมถึงพฤศจิกายน ก่อนที่ดินจะแห้ง เพราะถ้าดินแห้งจะพรวนดินยาก
    ในกรณีที่ต้องการเร่งการออกหน่อ(กรณีพิเศษ)จะใส่ในช่วงต้นเดือน ก.พ.ถึง พ.ค. ปุ๋ยที่นิยมคือใช้ปุ๋ยคอกเป็นหลัก ในอัตรา 2-3กิโลกรัมต่อ กอ/เดือน   หรืออาจใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21อัตรา 200กรัมต่อกอ และปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0   200กรัม/กอ (เร่งหน่อเพื่อขาย ก่อนหน่อไม้ไทยจะเริ่มออกหน่อ)

3.การไว้ลำและการตัดแต่งกอไผ่หวานลืมแล้ง
ไผ่หวานลืมแล้ง เมื่อปลูกได้ประมาณ  3-4 เดือนจะเริ่มแตกหน่อได้ประมาณ 2-3 ลำ ในระยะแรกนี้จะไม่มีการตัดหน่อเลย ปล่อยให้เป็นลำต่อไป การดูแลกอไผ่ในช่วงนี้จะทำการตัดลำต้นที่เล็กออกไป ไม่ต้องเสียดาย ให้เหลือไว้เฉพาะลำที่ใหญ่ ลำที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 นิ้วตัดทิ้งให้หมด วิธีการตัด ต้องตัดให้จมดิน อย่าให้มีตาเหลืออยู่อีก(ไม่ต้องการให้ขยายพันธุ์อีก)  กิ่งแขนงเล็กๆ บริเวณโคนต้นที่ขึ้นเกะกะของลำแม่ควรตัดแต่งให้โล่ง(แสงแดดส่องถึงพื้นได้) เพื่อสะดวกในการให้น้ำและดูแล เมื่อต้นไผ่อายุได้ประมาณ 7-8 เดือนจะมีหน่อแทงขึ้นมาอีก 5-6หน่อ ตอนนี้ก็ยังไม่มีการตัดหน่อ ปล่อยให้ไผ่เป็นลำต่อไป แต่ถ้าพื้นที่ตรงนั้นดินอุดมสมบูรณ์ดี หน่อออกเยอะเราควรตัดขายไปบ้าง เช่นถ้าขึ้นมา 5หน่อให้ตัดขายไป 3หน่อ แต่ให้เลือกเอาหน่อที่สมบูรณ์ไว้(หน่อที่เบียดกันให้ตัดออกขายไป) การดูแลกอไผ่เพียงแค่ตัดเอาหน่อเน่า ลำคดเอียงแคระแกร็นออกและตัดแต่งกิ่งแขนงเล็กๆทิ้ง รักษาลำไผ่ให้มีอยู่ประมาณ 5-6ลำ (ลำใหญ่ๆ)จากนั้นจึงเริ่มตัด  หน่อขายบ้าง การตัดหน่อขายนี้ควรจะตัดจากกลางกอก่อนแล้วขยายออกมารอบนอกกอ ซึ่งหน่อนอกๆ ต้องมีการรักษาไว้บ้างเพื่อให้เป็นลำแม่ โดยเลือกหน่อที่อวบใหญ่และอยู่ในลักษณะที่จะขยายออกเป็นวงกลมเพื่อจะทำให้กอใหญ่ขึ้น มีหน่อมากขึ้นในปีต่อไป สะดวกที่จะเข้าไปดูแลรักษาและตัดหน่อ
การตัดแต่งกอนั้น ควรทำติดต่อกันทุกๆ ปี  สำหรับไผ่หวานลืมแล้งนี้ควรแต่งกอไผ่ประมาณต้นเดือน  ก.ค.เพราะตอนนี้ ไผ่ชนิดอื่นกำลังออกหน่อ ช่วงนี้หน่อไม้ออกเยอะราคาไม่ค่อยดี ควรปล่อยหน่อให้เจริญเป็นลำแม่ได้เต็มที่ พอต้นเดือนตุลาคม จึงค่อยอัดปุ๋ยคอกและน้ำเพื่อเร่งการออกหน่อในช่วงหน้าหนาว และหน้าแล้ง ช่วงนี้ราคาของหน่อไผ่จะดีมาก (พ.ย.-พ.ค.)ของทุกปี

  1. การบังคับให้เกิดหน่อมากขึ้น
    ในการบังคับให้ไผ่หวานลืมแล้งแทงหน่อมากขึ้นตามฤดูกาลนั้น นอกจากการใส่ปุ๋ยและปฏิบัติดูแลตามปกติแล้ว ยังมีวิธีกระตุ้นให้ไผ่หวานแทงหน่อมากขึ้น โดยการสุมไฟในฤดูแล้งช่วงที่ลมสงบ(ปลายเดือน ม.ค-ก.พ.) โดยการรวบรวมใบไผ่และ กิ่งแขนง ที่ได้จากการตัดแต่งกิ่งแล้วนำมากองให้ห่างจากกอประมาณ 1 เมตร จุดไฟเผา แต่ต้องระวังไม่ให้ไฟกรรโชกมาก โดยการพรมน้ำช่วยหรืออาจเอาใบไผ่และกิ่งแขนงสุมในกอเลย แต่ต้องระวังไม่ให้ไฟลามไปติดส่วนบนๆ ของกอ ในการสุมไฟนั้น เข้าใจว่าเป็นการเร่งให้ไผ่หวานมีการพักตัวเร็วขึ้น (hardening) เมื่อก่อนเข้าสู่ฤดูฝนจะได้แทงหน่อมากขึ้น หลังจากที่ได้พักตัวอย่างเต็มที่และการสุมไฟยังช่วยในการกำจัดโรคและแมลงไปพร้อมกันด้วย
    นอกจากนี้ ยังมีวิธีการบังคับการออกหน่อวิธีอื่นอีก เช่น การพรวนดินแปลงไผ่หวานลืมแล้ ทั้งในระหว่างแถวและระหว่างต้น โดยทำการพรวนดินในช่วงก่อนฤดูแล้ง ประมาณเดือนก.ค.-ก.ย. เป็นการทำลายรากแก่เพื่อให้แตกรากใหม่ ดังนั้นในการพรวนดิน การให้น้ำ ให้ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอจะทำให้ไผ่หวานลืมแล้งออกหน่อ

เร็วและดกตลอดปี ส่วนการบังคับให้ไผ่หวานแทงหน่อนอกฤดูปกติก็ทำได้เช่นกัน โดยการบำรุงต้นด้วยการใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มรวมกับปุ๋ยคอกและการให้น้ำอย่างถูกต้อง ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น จึงสามารถเร่งหน่อได้ และจะทำได้เฉพาะแปลงปลูกที่มีแหล่งน้ำอย่างเพียงพอเท่านั้น(จำเป็น)

  1. การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูของไผ่
    ปกติไม่มีการระบาดรุนแรงของโรคและแมลงในสวนไผ่มากนัก มีเพียงแมลงพวกหนอนผีเสื้อกลางคืนมากัดกิน และม้วนใบไผ่เพื่อหลบซ่อนและเป็นที่อาศัยในระยะเป็นดักแด้บ้างเล็กน้อย แมลงที่เข้าทำลายหน่ออ่อนของไม้ไผ่ส่วนมากเป็นประเภทกัดกินหน่อ 4-5 ชนิด คือ หนอนด้วงเจาะหน่อไผ่(ไผ่หวานลืมแล้งไม่ค่อยเจอเพราะลำค่อนข้างตัน), ด้วงกินหน่อ, ด้วงงวงเจาะกิ่ง ,เพลี้ยอ่อนและมวนดูดน้ำเลี้ยง การควบคุมและกำจัดสามารถกระทำได้หลายวิธี คือ ภายหลังที่หน่อเริ่มแตกจากตาของเหง้าปล้องแล้ว ก็หาทางป้องกันพวกเชื้อราและแมลงที่เข้ามากัดกินและอาศัยอยู่ตามกาบของหน่ออ่อน โดยการใช้สารปราบศัตรูพืช เช่น มาลาไทออน ผสมน้ำราดที่หน่อและเหง้า หรือใช้ฟูราดาน ภูไมด์ หว่านลงที่ดิน แต่อย่านำหน่อไปบริโภคภายใน 60วัน หรือใช้วิธีควบคุมโดยการลิดกิ่ง หรือตัดลำแก่ที่เป็นที่อยู่ของดักแด้ออก แล้วทำลายหรือขายลำไป จึงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดจำนวนประชากรแมลงได้  ส่วนมากแล้วไม่ค่อยพบปัญหาเกี่ยวกับโรคต่างๆในไผ่หวานลืมแล้ง แต่จะพบเพลี้ยตัวสีขาวๆเกิดขึ้นตามข้อไผ่อ่อน เราอาจใช้ผงซักฟอกละลายน้ำราดรดลงไปก็จะหาย  ถ้ามีจำนวนน้อยไม่มากนักก็ใช้มือขยี้ ถ้าจำเป็นต้องใช้เคมีก็ต้องใช้ชนิดอ่อนๆเช่น เซฟวิน ฉีดพ่นครับ

6.การตัดหน่อ

ไผ่หวานลืมแล้งจะแทงหน่อตลอดปีแต่จะดกมากเมื่อเริ่มเข้าฤดูฝน (เม.ย.-มิ.ย.)การตัดหน่อจะตัดเมื่อหน่อยาวประมาณ 1 ฟุต โดยใช้เสียมหางปลาตัดหน่อบริเวณกาบใบที่ 3 จากโคนหน่อ ซึ่งจะเหลือตาไว้ 2-3 ตา สำหรับแตกหน่อในช่วงถัดไป สำหรับหน่อที่ไม่แข็งแรงให้ตัดออกทิ้งไป การตัดหน่อควรทำตอนเช้ามืด เพื่อจะได้หน่อไม้สดส่งตลาด หน่อไม้ไผ่หวานลืมแล้ง(หน่อไม้หวาน)ที่ตัดไว้นาน ๆ จะทำให้ความหวานของหน่อลดลง ดังนั้น ควรตัดหน่อแล้วรีบขายทันที ในการตัดหน่อควรเริ่มตัดหน่อจากกลางกอก่อน แล้วขยายวงออกมารอบนอกกอ ส่วนหน่อที่อวบใหญ่ที่อยู่ด้านนอกควรมีการรักษาไว้เพื่อให้เป็นลำแม่เลี้ยงหน่อต่อไป

 

การขยายพันธุ์โดยการใช้กิ่งแขนง (การตอนแล้วนำมาชำกิ่ง)

การขยายพันธุ์กิ่งไผ่มีหลายวิธีครับ แต่สำหรับไผ่หวานลืมแล้งการขยายพันธุ์โดยการใช้กิ่งแขนงนี้ เป็นวิธีที่นิยมกันมากที่สุดเพราะง่าย สะดวก รวดเร็ว สามารถตัดชำกิ่งแขนงได้จำนวนมาก ความสำเร็จในการตอนและปักชำโดยใช้กิ่งแขนงขึ้นอยู่กับชนิดของไผ่ หากเป็นไผ่ที่มีรากอากาศบริเวณโคนกิ่ง เช่น ไผ่หวานลืมแล้ง จะมีความสำเร็จสูง ผมจึงขอแนะนำการขยายพันธุ์ไผ่ด้วยวิธีนี้ครับ

การเตรียมอุปกรณ์เพื่อตอนกิ่ง

  1. เลื่อยโค้งตัดแต่งกิ่ง2.มีดคม หรือ คัดเตอร์  3.กรรไกรแต่งกิ่ง 4.เทปพันสายไฟหรือเชือก   5. น้ำยาเร่งราก  6.ถุงพลาสติก(5*8)      7.หนังยาง

8.ดินที่ใช้สำหรับการตอนในถุงพลาสติก (ใยมะพร้าว2ส่วน+ดินที่ผสมขี้เถ้าแกลบ1ส่วน)

วิธีตอนกิ่งไผ่หวานลืมแล้ง

กิ่งแขนง คือกิ่งที่แตกจากตาบริเวณข้อต่อของลำไผ่ ความสำเร็จของการตอนกิ่งแขนงขึ้นอยู่กับการเลือกกิ่งแขนงและฤดูที่จะตอนด้วย ฤดูที่เหมาะในการตอนกิ่งแขนงของ ไผ่หวานลืมแล้ง คือ ปลายฤดูฝนช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม ไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นช่วงที่มีกิ่งแขนงมาก การเลือกกิ่งแขนงควรเลือกกิ่งที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิ้วถึงนิ้วครึ่ง(ไม่แก่ไม่อ่อน) ที่มีรากอากาศเป็นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลอมเหลือง และใบที่ยอดคลี่แล้ว กาบหุ้มตาหลุดหมด อายุของกิ่งแขนงอย่างน้อยต้องมีอายุ 4-6 เดือน ถ้าค้างปียิ่งดี เมื่อเลือกกิ่งแขนงได้ตามความต้องการแล้ว ให้ใช้เลื่อยโค้งเลื่อยตรงกลางระหว่างกิ่งแขนงกับลำไผ่ เลื่อยไปจนกิ่งแขนงเกือบขาด(80%)จากนั้นก็ดึงกิ่งแขนงให้แยกจากลำแม่ ให้เหลือเปลือกเขียวของลำแม่ให้บางที่สุด นำดินที่ใส่ถุงเตรียมไว้พร้อมที่จะตอน กรีดถุงด้านหนึ่งขนาดสี่เหลี่ยมผืนผ้าของถุงดินที่จะตอนทิ้งไป(2.5*3.5นิ้ว) นำน้ำยาเร่งรากราดใส่ถุงดินที่จะตอนให้ชุ่ม  ดันประกบจากด้านล่างเข้ากับกิ่งแขนง แล้วค่อยใช้เทปดำพันถุงดินที่ตอนให้แน่นเหลือช่องว่างให้น้ำเข้ามาได้ทางด้านบนเวลารดน้ำ ใช้เชือกฟางแก้วหรือเทปดำยึดกิ่งแขนงไว้กับลำไผ่กันลมโยก หมั่นรดน้ำให้ชุ่ม  5-10วัน รากจะออก

เราควรปล่อยให้รากออกเต็มที่จึงค่อย ตัดกิ่งที่ตอนได้ลงมาเพื่อใส่ถุงชำหลังจากนั้นรอให้กิ่งพันธุ์แตกใบอ่อนแสดงว่ารากเดินดีแล้วจึงค่อยนำลงแปลงปลูก ก่อนทำการปักชำควรมีการเตรียมดินที่จะนำมาใช้เป็นวัสดุเพาะชำ โดยการย่อยดินและผสมดินกับ(ขี้เถ้าแกลบ+ใยมะพร้าว)ในอัตราส่วน 1 ต่อ 1 โดยประมาณ แล้วตากดินทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น หลังจากให้นำกิ่งไผ่ที่ตอนแล้วลงถุง ควรกดดินให้แน่นแต่ต้องระวังไม่ให้รากขาด รดน้ำทันทีเพื่อให้กิ่งชำสดอยู่เสมอ

หลังจากนั้นหมั่นดูแลรดน้ำทุกวันหรือวันเว้นวัน จนกระทั่งกิ่งแขนงที่ชำแข็งแรงดีใช้เวลาประมาณ3-4อาทิตย์ ก็ย้ายลงปลูกในแปลงได้  เพื่อการค้าในปัจจุบันนิยมชำในถุงพลาสติกโดยตรงตั้งแต่แรกเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนขณะย้ายชำกล้าและสะดวกในการขนย้ายไปปลูกตามที่ต่างๆ ปกตินิยมใช้ถุงขนาด 5 x 8 ปักชำกิ่งไผ่เพื่อให้กิ่งไผ่ที่ตอนมาแตกใบและราก ตัดปลายกิ่งออก ให้กิ่งแขนงที่จะปักชำยาวประมาณ 80 – 100 เซนติเมตร มีข้อติดอยู่ 3-4 ข้อ (สำคัญรากต้องเต็ม) ผมเคยนำกิ่งตอนที่มีรากเต็มและตัดออกจากลำไผ่ นำมาปลูกปรากฏว่าการฟื้นตัวและการเจริญเติบโตของกิ่งไผ่เร็วมาก ไม่ตาย ขนส่งง่าย และสะดวกในการปลูก

 

อ้างอิง : คุณประหยัด  รักชาติ

ต.โพธิ์พระยา อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี 72000

Email   P_southsea@yahoo.com

 

Posted under อาชีพน่าสนใจ

สสวท. เผยผลประเมินความรู้ด้านไอซีที เด็กไทยเทียบนานาชาติ พบอยู่รองบ๊วยจากผู้เข้าร่วม 14 ประเทศ แนะปรับปรุงหลักสูตรกลาง ฝึกเด็กใช้ทักษะแก้ปัญหา อบรมครูทุกวิชาใช้ไอซีทีในการสอน

วันนี้ (21 พ.ย.) สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดแถลงข่าวผลการวิจัยโครงการประเมินการเรียนรู้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ของนักเรียนไทยเทียบกับนานาชาติ โดยมี รศ.ดร.พินิติ รตะนานุ เลขาธิการสภาการศึกษา ดร.สุพัตรา ผาติวิสันต์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สสวท. และดร.ชัยวุฒิ เลิศวนสิริวรรณ ผู้ช่วยนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ สสวท. ร่วมแถลงข่าว

ดร.ชัยวุฒิ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวจัดขึ้นโดยสมาคมนานาชาติที่ทำหน้าที่ประเมินผลด้านการศึกษา หรือ ไออีเอ เพื่อประเมินผลเกี่ยวกับการรู้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยสอบถามผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน และผู้รับผิดชอบด้านไอซีทีของโรงเรียนในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ซึ่งมีประเทศที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 20 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย อาร์เจนตินา แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ ชิลี โครเอเชีย สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก ฮ่องกง เยอรมนี เกาหลีใต้ ลิธัวเนีย เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปแลนด์ สาธารณรัฐสโลวัก สโลวีเนีย รัสเซีย ตุรกี และ ไทย โดยมีนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่เข้าร่วมประเมินทั้งสิ้น 59,430 คน ในส่วนของประเทศไทยได้ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้น ม.2 ในสถานศึกษาทุกสังกัด 3,646 คน จาก 198 โรงเรียน อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้ประเทศอาร์เจนตินา และ แคนาดา ขอเข้าร่วมสังเกตการณ์ก่อน ส่วนอีก 4 ประเทศ ได้แก่ เดนมาร์ก ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์ ข้อมูลไม่ครบตามที่โครงการกำหนด จึงถูกตัดสิทธิ์ ส่งผลให้เหลือประเทศที่เข้ารับการประเมินทั้งหมด 14 ประเทศ

ดร.ชัยวุฒิ กล่าวต่อไปว่า ทางโครงการได้กำหนดให้ค่าคะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบ เท่ากับ 500 คะแนน ซึ่งผลประเมินพบว่า ประเทศที่ได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ตั้งไว้ อันดับ 1 คือ สาธารณรัฐเช็ก ได้ 553 คะแนน รองลงมาคือ ออสเตรเลีย ได้ 542 คะแนน โปแลนด์ และ นอร์เวย์ ได้ 537 คะแนน เกาหลีใต้ ได้ 536 คะแนน เยอรมนี ได้ 523 คะแนน สาธารณรัฐสโลวัก ได้ 517 คะแนน รัสเซีย ได้ 516 คะแนน โครเอเชีย ได้ 512 คะแนน และ สโลวีเนีย ได้ 511 คะแนน ส่วนประเทศที่ได้คะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ตั้งไว้ คือ ลิธัวเนีย ได้ 494 คะแนน ชิลี ได้ 487 คะแนน ส่วนประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 13 ได้ 373 คะแนน ซึ่งเป็นอันดับสองนับจากท้าย ที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ ตุรกี ได้ 361 คะแนน สำหรับประเทศไทยเมื่อจำแนกผลการประเมินตามสังกัด พบว่า นักเรียนในโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้คะแนนเฉลี่ย 518 คะแนน ถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติที่ตั้งไว้ และสูงกว่าโรงเรียนในสังกัดอื่นๆ รองลงมา คือโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ได้ 395 คะแนน โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่เปิดสอนเฉพาะ ม.1 – 6 ได้ 382 คะแนน โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้ 377 คะแนน โรงเรียนสังกัดเทศบาล/ท้องถิ่น ได้ 346 คะแนน และโรงเรียนขยายโอกาสสังกัด สพฐ. ได้ 330 คะแนน

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาผลการประเมินในแต่ละด้าน พบว่า คะแนนด้านการรู้คอมพิวเตอร์ และสารสนเทศของนักเรียนมีความสำคัญอย่างมาก กับค่าดรรชนีการพัฒนา ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของแต่ละประเทศ โดยประเทศที่มีค่าดรรชนีการพัฒนาด้านไอซีทีสูง ก็มีแนวโน้มที่ผลคะแนนจะสูง สำหรับประเทศไทยมีค่าดัชนีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีฯ ต่ำที่สุด นอกจากนี้ ยังพบว่า พื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์กับคะแนนด้านการรู้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศของนักเรียน ซึ่งถ้าผู้ปกครองมีพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจที่สูง ก็มีแนวโน้มที่นักเรียนจะมีคะแนนสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งประเทศไทยนั้นนักเรียน 61% ผู้ปกครองมีพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำ จึงส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยต่ำลงไปด้วย ขณะเดียวกันยังพบว่าครอบครัวที่มีคอมพิวเตอร์ที่บ้าน จะทำให้นักเรียนมีคะแนนสูงขึ้น ซึ่งในส่วนของประเทศไทยยังมีครอบครัวที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ที่บ้านอยู่ถึง 28% ปัจจัยต่อมา คือ สัดส่วนนักเรียนต่อคอมพิวเตอร์ที่โรงเรียน พบว่า ยิ่งสัดส่วนนักเรียนต่อคอมพิวเตอร์น้อย คะแนนเฉลี่ยจะยิ่งสูง ประสบการณ์การใช้คอมพิวเตอร์ของครู มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งในส่วนของประเทศไทยพบว่ามีครูที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์ อยู่ 8% ขณะที่ประเทศอื่นๆ ที่ร่วมประเมินอยู่ที่ 5%

“จากการประเมินครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรต้องมีการปรับปรุง สาระการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลาง ที่แสดงให้เห็นกระบวนการและทักษะที่จะเกิดกับผู้เรียนโดยเฉพาะทักษะที่ทำให้เกิดการคิดวิเคราะห์ รวมทั้งควรปรับวิธีการวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกันเพราะปัจจุบันครูเน้นสอน และวัดผลแต่โปรแกรมสำนักงาน ไม่ฝึกให้เด็กรู้จักใช้ทักษะและกระบวนการแก้ปัญหา นอกจากนี้ต้องปรับโครงสร้างหลักสูตรวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร มาอยู่ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จากเดิมที่อยู่ในกลุ่มสาระการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี ในปัจจุบัน ควรจัดอบรมครูในทุกวิชาให้สามารถใช้ไอซีทีในการเรียนการสอนได้ เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าถึงไอซีทีเพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาทั้งในโรงเรียนและที่บ้าน” ดร.ชัยวุฒิ  กล่าว

รศ.ดร.พินิติ กล่าวว่า หลังจากนี้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะนำผลการประเมินครั้งนี้มาเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลที่นำไปใช้ในการปฏิรูปการศึกษาภาพรวมของประเทศ โดยต้องนำผลประเมินมาวิเคราะห์และปรับตามข้อเสนอแนะ ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ครู นักเรียน และหลักสูตร

ขอขอบคุณข่าวสาร/ข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการ
Posted under การพัฒนาการศึกษา

กสม. ออกแถลงการณ์ค้าน ศธ. ยุบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก ชี้ ละเมิดสิทธิการศึกษาเด็กนักเรียนตาม รธน.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 20 พ.ย. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ออกแถลงการณ์เรื่องสิทธิเด็กอันเกี่ยวเนื่องกับความเสมอภาคทางการศึกษา กรณีคัดค้านนโยบายยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็ก เนื่องจากมีผู้ร้องเรียนต่อคณะกรรมการสิทธิฯ เกี่ยวกับคัดค้านนโยบายยุบ ควบรวม โรงเรียนขนาดเล็กของกระทรวงศึกษาธิการ เนื่องจากเห็นว่าเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการศึกษาของเด็กนักเรียน ซึ่งคณะกรรมการสิทธิฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบโดยรับฟังคำชี้แจงจากหน่วยงาน นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ การลงพื้นที่ และจัดเสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นแล้ว

คณะกรรมาการสิทธิฯ มีความเห็นและมีมติ เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2557 ที่ผ่านมา ว่า นโยบายยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กของกระทรวงศึกษาธิการ เป็นนโยบายที่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการศึกษาของเด็กนักเรียน เนื่องจากตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ข้อ 3 และข้อ 28 และหลักการตามรัฐธรรมนูญให้คำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นอันดับแรก เด็กต้องได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย สมอง จิตใจ ศีลธรรม และจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ซึ่งการจัดการศึกษาเพื่อให้เด็กได้พัฒนาในมิติที่รอบด้าน เป็นเรื่องของรัฐที่จะต้องดำเนินการและลงทุน

คณะกรรมการสิทธิฯ จึงได้กำหนดมาตรการการแก้ไขปัญหาต่อกระทรวงศึกษาธิการ โดยให้ปรับลดงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ไม่จำเป็น และไม่คุ้มค่ากับการลงทุน กระจายอำนาจการจัดการศึกษาไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทยต้องจัดงบประมาณ เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่จัดการศึกษาร่วมกับชุมชน กระทรวงศึกษาธิการ ควรปรับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการการศึกษาโดยเน้นเป้าหมายในการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา หลักสูตร วิธีการสอน รวมทั้งระดมบุคลากรที่มีศักยภาพ เช่น ปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อให้เข้ามาสนับสนุนการเรียนการสอนในโรงเรียนขนาดเล็กให้มีคุณภาพและสอดคล้องกับวิถีชุมชนในแต่ละพื้นที่

นอกจากนี้ เห็นว่า การจัดการศึกษาต้องตระหนักถึงการมีส่วนร่วมของบิดามารดา ผู้ปกครอง ชุมชนและภาคประชาสังคม ภายใต้แนวคิดรูปแบบและกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายผ่านความสัมพันธ์กับครอบครัว ชุมชน สังคม วัฒนธรรมในท้องถิ่นและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาในมิติที่รอบด้านและนำไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ อีกทั้ง กระทรวงศึกษาธิการควรพิจารณายกเลิกหรือปรับปรุงระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วย การจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2550 ในส่วนที่เกี่ยวกับการรวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และพิจารณาทบทวนแก้ไขมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553 เพื่อให้สอดคล้องกับสิทธิในการได้รับการศึกษาของเด็ก ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการสิทธิฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงมหาดไทย จะดำเนินการตามข้อเสนอและมาตรการดังกล่าว

ขอขอบคุณข่าวสาร/ข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการ
Posted under การพัฒนาการศึกษา

สสวท. เผยผลประเมินความรู้ด้านไอซีที เด็กไทยเทียบนานาชาติ พบอยู่รองบ๊วยจากผู้เข้าร่วม 14 ประเทศ แนะปรับปรุงหลักสูตรกลาง ฝึกเด็กใช้ทักษะแก้ปัญหา อบรมครูทุกวิชาใช้ไอซีทีในการสอน

วันนี้ (21 พ.ย.) สถาบันส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) จัดแถลงข่าวผลการวิจัยโครงการประเมินการเรียนรู้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ของนักเรียนไทยเทียบกับนานาชาติ โดยมี รศ.ดร.พินิติ รตะนานุ เลขาธิการสภาการศึกษา ดร.สุพัตรา ผาติวิสันต์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สสวท. และดร.ชัยวุฒิ เลิศวนสิริวรรณ ผู้ช่วยนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ สสวท. ร่วมแถลงข่าว

ดร.ชัยวุฒิ กล่าวว่า โครงการดังกล่าวจัดขึ้นโดยสมาคมนานาชาติที่ทำหน้าที่ประเมินผลด้านการศึกษา หรือ ไออีเอ เพื่อประเมินผลเกี่ยวกับการรู้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยสอบถามผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน และผู้รับผิดชอบด้านไอซีทีของโรงเรียนในเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ซึ่งมีประเทศที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 20 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย อาร์เจนตินา แคนาดา สวิตเซอร์แลนด์ ชิลี โครเอเชีย สาธารณรัฐเช็ก เดนมาร์ก ฮ่องกง เยอรมนี เกาหลีใต้ ลิธัวเนีย เนเธอร์แลนด์ นอร์เวย์ โปแลนด์ สาธารณรัฐสโลวัก สโลวีเนีย รัสเซีย ตุรกี และ ไทย โดยมีนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่เข้าร่วมประเมินทั้งสิ้น 59,430 คน ในส่วนของประเทศไทยได้ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้น ม.2 ในสถานศึกษาทุกสังกัด 3,646 คน จาก 198 โรงเรียน อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้ประเทศอาร์เจนตินา และ แคนาดา ขอเข้าร่วมสังเกตการณ์ก่อน ส่วนอีก 4 ประเทศ ได้แก่ เดนมาร์ก ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์ ข้อมูลไม่ครบตามที่โครงการกำหนด จึงถูกตัดสิทธิ์ ส่งผลให้เหลือประเทศที่เข้ารับการประเมินทั้งหมด 14 ประเทศ

ดร.ชัยวุฒิ กล่าวต่อไปว่า ทางโครงการได้กำหนดให้ค่าคะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบ เท่ากับ 500 คะแนน ซึ่งผลประเมินพบว่า ประเทศที่ได้คะแนนสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ตั้งไว้ อันดับ 1 คือ สาธารณรัฐเช็ก ได้ 553 คะแนน รองลงมาคือ ออสเตรเลีย ได้ 542 คะแนน โปแลนด์ และ นอร์เวย์ ได้ 537 คะแนน เกาหลีใต้ ได้ 536 คะแนน เยอรมนี ได้ 523 คะแนน สาธารณรัฐสโลวัก ได้ 517 คะแนน รัสเซีย ได้ 516 คะแนน โครเอเชีย ได้ 512 คะแนน และ สโลวีเนีย ได้ 511 คะแนน ส่วนประเทศที่ได้คะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่ตั้งไว้ คือ ลิธัวเนีย ได้ 494 คะแนน ชิลี ได้ 487 คะแนน ส่วนประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 13 ได้ 373 คะแนน ซึ่งเป็นอันดับสองนับจากท้าย ที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ ตุรกี ได้ 361 คะแนน สำหรับประเทศไทยเมื่อจำแนกผลการประเมินตามสังกัด พบว่า นักเรียนในโรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้คะแนนเฉลี่ย 518 คะแนน ถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติที่ตั้งไว้ และสูงกว่าโรงเรียนในสังกัดอื่นๆ รองลงมา คือโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ได้ 395 คะแนน โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่เปิดสอนเฉพาะ ม.1 – 6 ได้ 382 คะแนน โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้ 377 คะแนน โรงเรียนสังกัดเทศบาล/ท้องถิ่น ได้ 346 คะแนน และโรงเรียนขยายโอกาสสังกัด สพฐ. ได้ 330 คะแนน

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาผลการประเมินในแต่ละด้าน พบว่า คะแนนด้านการรู้คอมพิวเตอร์ และสารสนเทศของนักเรียนมีความสำคัญอย่างมาก กับค่าดรรชนีการพัฒนา ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของแต่ละประเทศ โดยประเทศที่มีค่าดรรชนีการพัฒนาด้านไอซีทีสูง ก็มีแนวโน้มที่ผลคะแนนจะสูง สำหรับประเทศไทยมีค่าดัชนีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีฯ ต่ำที่สุด นอกจากนี้ ยังพบว่า พื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของผู้ปกครองมีความสัมพันธ์กับคะแนนด้านการรู้คอมพิวเตอร์และสารสนเทศของนักเรียน ซึ่งถ้าผู้ปกครองมีพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจที่สูง ก็มีแนวโน้มที่นักเรียนจะมีคะแนนสูงขึ้นตามไปด้วย ซึ่งประเทศไทยนั้นนักเรียน 61% ผู้ปกครองมีพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจอยู่ในระดับต่ำ จึงส่งผลให้คะแนนเฉลี่ยต่ำลงไปด้วย ขณะเดียวกันยังพบว่าครอบครัวที่มีคอมพิวเตอร์ที่บ้าน จะทำให้นักเรียนมีคะแนนสูงขึ้น ซึ่งในส่วนของประเทศไทยยังมีครอบครัวที่ไม่มีคอมพิวเตอร์ที่บ้านอยู่ถึง 28% ปัจจัยต่อมา คือ สัดส่วนนักเรียนต่อคอมพิวเตอร์ที่โรงเรียน พบว่า ยิ่งสัดส่วนนักเรียนต่อคอมพิวเตอร์น้อย คะแนนเฉลี่ยจะยิ่งสูง ประสบการณ์การใช้คอมพิวเตอร์ของครู มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งในส่วนของประเทศไทยพบว่ามีครูที่ไม่เคยใช้คอมพิวเตอร์ อยู่ 8% ขณะที่ประเทศอื่นๆ ที่ร่วมประเมินอยู่ที่ 5%

“จากการประเมินครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรต้องมีการปรับปรุง สาระการเรียนรู้ของหลักสูตรแกนกลาง ที่แสดงให้เห็นกระบวนการและทักษะที่จะเกิดกับผู้เรียนโดยเฉพาะทักษะที่ทำให้เกิดการคิดวิเคราะห์ รวมทั้งควรปรับวิธีการวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกันเพราะปัจจุบันครูเน้นสอน และวัดผลแต่โปรแกรมสำนักงาน ไม่ฝึกให้เด็กรู้จักใช้ทักษะและกระบวนการแก้ปัญหา นอกจากนี้ต้องปรับโครงสร้างหลักสูตรวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร มาอยู่ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ จากเดิมที่อยู่ในกลุ่มสาระการงานพื้นฐานอาชีพและเทคโนโลยี ในปัจจุบัน ควรจัดอบรมครูในทุกวิชาให้สามารถใช้ไอซีทีในการเรียนการสอนได้ เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้าถึงไอซีทีเพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลาทั้งในโรงเรียนและที่บ้าน” ดร.ชัยวุฒิ  กล่าว

รศ.ดร.พินิติ กล่าวว่า หลังจากนี้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะนำผลการประเมินครั้งนี้มาเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลที่นำไปใช้ในการปฏิรูปการศึกษาภาพรวมของประเทศ โดยต้องนำผลประเมินมาวิเคราะห์และปรับตามข้อเสนอแนะ ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ครู นักเรียน และหลักสูตร

ขอขอบคุณข่าวสาร/ข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการ
Posted under การพัฒนาการศึกษา